วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(Photosynthesis) เป็นปฏิกิริยาเคมี่พืชสร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งได้แก่ แป้ง และน้ำตาล จากวัตถุดิบ คือ น้ำ (H2O) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยมีคลอโรฟีลล์และแสงสว่างเป็นเครื่องช่วย ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช นอกจากจะได้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตแล้วยังได้ก๊าซออกซิเจน (O2) และน้ำเกิดขึ้นอีกด้วย


  อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้ำตาลกลูโคส (Glucose) เนื่องจากพืชจะทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้เฉพาะในเวลากลางวัน เมื่อมีแสงสว่างเท่านั้น ดังนั้น น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้น จะถูกเปลี่ยนเป็นแป้งเก็บสะสมไว้ชั่วคราวในเซลล์ ในเวลากลางคืนไม่มีแสงสว่างพืชจึงหยุดทำการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น แป้งที่เก็บสะสมไว้จึงถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลลำเลียงไปสู่ส่วนต่างๆ
          คลอโรฟีลล์ของพืชส่วนใหญ่จะพบบริเวณใบ ดังนั้น การสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนมากจะเดขึ้นที่ใบ อย่างไรก็ตาม นอกจากใบแล้วส่วนอื่นของพืชก็สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น ลำต้น ราก ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคลอโรฟีลล์จะดูดพลังงานจากแสงอาทิตย์นำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีระหว่างน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยพืชจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเข้าทางปากใบซึ่งโดยเฉลี่ยอากาศจะมีก๊าซนี้ประมาณ 0.03 – 0.04 เปอร์เซ็นต์ ส่วนน้ำที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงพืชจะได้จากดิน โดยมีขนรากทำหน้าที่ดูดน้ำจากดินด้วยวิธีออสโมซิส แล้วลำเลียงส่งมาตามท่อน้ำในราก ลำต้นและที่ใบ การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับแสงสว่างแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอีกด้วย จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าช่วงอุณหภูมิที่ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ดีที่สุดอยู่ระหว่าง 30-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงกว่านี้พืชจะสังเคาะห์ด้วยแสงได้น้อยลง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูนเข้าเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อ้างอิง

อ้างอิง https://sites.google.com/site/kawfangjaa/home